Translate

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

               



         ยิ น ดี ต้   รั  ทุ    ค่ 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระบรมนามาภิไธย ทองด้วง
พระราชอิสริยยศ พระมหากษัตริย์สยาม
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
บรมราชาภิเษก 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325
ระยะครองราชย์ 27 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดประจำรัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279
สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352
รวมพระชนมพรรษา 73 พรรษา
พระบรมราชชนก สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระบรมราชชนนี พระอัครชายา (ดาวเรือง)
พระมเหสี สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระราชโอรส/ธิดา 42

พระราชประวัติ

    พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) พระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งถวาย) รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2279 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ

พระราชสมภพ

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และพระอัครชายา (ดาวเรือง หรือ หยก) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี และพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีรวม 5 พระองค์ ได้แก่

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
พระเจ้ารามณรงค์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระอนุชาและพระขนิษฐาต่างพระชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี

    เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมา คือ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม

รับราชการในสมัยกรุงธนบุรี

    ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษาและได้เข้าถวายตัวรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตามคำชักชวนของพระมหามนตรี (บุญมา) (ต่อมา คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) โดยทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "พระราชริน (พระราชวรินทร์)" เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และทรงย้ายนิวาสสถานมาอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองพิมายซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้าเมืองพิมายอยู่ พระองค์และพระมหามนตรีได้รับพระราชโองการให้ยกทัพร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย หลังจากการศึกในครั้งนี้ พระองค์ทรงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาอไภยรณฤทธิ์" จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จที่มีความชอบในการสงครามครั้งนี้

    หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพระฝางสำเร็จแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่าเจ้าพระยาจักรีแขก นั้นมิแกล้วกล้าในการสงคราม ดังนั้น จึงโปรดตั้งพระองค์ขึ้นเป็น "พระยายมราช" เสนาธิบดีกรมพระนครบาล โดยให้ว่าราชการที่สมุหนายกด้วย เมื่อเจ้าพระยาจักรีแขกถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยาจักรี" อัครมหาเสนากรมมหาดไทย พร้อมทั้งโปรดให้เป็นแม่ทัพเพื่อไปตีกรุงกัมพูชา โดยสามารถตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองพุทไธเพชร (เมืองบันทายมาศ) ได้ เมื่อสิ้นสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดให้นักองค์รามาธิบดีไปครองเมืองพุทไธเพชรให้เป็นใหญ่ในกรุงกัมพูชา และมีพระดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาโกษาธิบดีอยู่ช่วยราชการที่เมืองพุทไธเพชรจนกว่าเหตุการณ์จะสงบราบคาบก่อน

    พระองค์เป็นแม่ทัพทำราชการสงครามกับพม่า เขมรและลาว จนมีความชอบในราชการมากมาย ดังนั้น จึงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก" และทรงได้รับพระราชทานให้ทรงเสลี่ยงงากลั้นกลดและมีเครื่องยศเสมอยศเจ้าต่างกรม

    เมื่อถึงปี พ.ศ. 2325 ได้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี คือ พระยาสรรค์ ได้ตั้งตัวเป็นกบฎ ขณะนั้นพระองค์ท่านเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จกลับจากกัมพูชา มาที่ กรุงธนบุรี แล้วปราบปรามกบฎและนำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปสำเร็จโทษ เหตุเพราะทรงมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษด้วยการ "ทุบด้วยท่อนจันทน์" สมัยกรุงธนบุรีจึงสิ้นสุดลงในที่สุด

ปราบดาภิเษก
    หลังจากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังจากที่พระองค์ทรงปราบปรามกบฎเรียบร้อยแล้ว ทางอาณาประชาราษฎร์ได้อัญเชิญเสด็จขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงและโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานยังวัดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนครเป็นเวลา 3 วัน ครั้งเสร็จการฉลองพระนครแล้ว พระองค์พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า "กรุงเทพมหานคร"

พระปรมาภิไธย




    เมื่อพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาษกรวงษ์ องค์บรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอักนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรบรมาธิเบศโลกเชฐวิสุทธิ รัตนมกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร"

    เนื่องจากพระปรมาภิไธยที่จารึกลงในพระสุพรรณบัฏนี้เป็นพระปรมาภิไธยเดียวกับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง), สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ดังนั้น พระองค์จึงเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4"

    ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระบรมนามาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"

    หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

    ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี รัฐบาลได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ในการนี้รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์โดยถวายพระราชสมัญญา "มหาราช" ต่อท้ายพระปรมาภิไธย ออกพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"

พระราชลัญจกร

    พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 เป็นตรางารูป "ปทุมอุณาโลม" หรือ "มหาอุณาโลม" หมายถึง ตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นดอกไม้ที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา

    ตราอุณาโลมที่ใช้ตีประทับบนเงินพดด้วงมีรูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต หรือ สังข์เวียนขวา มีลักษณะเป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง" อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2328 ในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชสันตติวงศ์

    เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ในตระกูลบางช้าง (ดู ณ บางช้าง) โดยมีพระราชโอรสสองพระองค์หนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี (ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2554) แขวงบางช้างคือจังหวัดสมุทรสงคราม ในอดีตแขวงดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2554) ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามสมเด็จพระพันวษาทรงมีอีกพระนามว่าสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์

ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ. 2279
20 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม ทองด้วง

พ.ศ. 2325
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต
ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าขึ้นเป็นที่ พระมหาอุปราชฝ่ายหน้า
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าทองอิน ขึ้นเป็นที่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุขฝ่ายหลัง'
องเชียงสือ (ญวน) และนักองค์เอง (เขมร) ขอเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
โปรดให้อาลักษณ์คัดนิทานอิหร่านราชธรรม

พ.ศ. 2326
กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท
เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร
สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พ.ศ. 2327
โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้ามมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ ทรงพระราชทานนามพระอารามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้า
สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ รวม 9 ทัพ กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ

พ.ศ. 2328
งานสร้างพระนครและปราสาทราชมณเฑียรสำเร็จเสร็จสิ้น
พระราชทานนามของราชธานีใหม่

พ.ศ. 2329
สงครามรบพม่าที่ท่าดินแดง
ทรงพระราชนิพนธ์ นิราศรบพม่าท่าดินแดง
โปรตุเกสขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
อังกฤษเช่าเกาะปีนัง จากพระยาไทรบุรี

พ.ศ. 2330
องเชียงสือเขียนหนังสือขอถวายบังคมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมือง
อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานภายในพระราชวังบวรสถานมงคล

พ.ศ. 2331
โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎก ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

พ.ศ. 2333
องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จและจัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย

พ.ศ. 2337
ทรงอภิเษกให้นักองค์เอง เป็น สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ไปครองกรุงกัมพูชา

พ.ศ. 2338
โปรดเกล้าฯ ให้ชำระพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทานุมาศ
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาพิชัยราชรถ

พ.ศ. 2339
งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

พ.ศ. 2340
ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์

พ.ศ. 2342
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเวชยันตราชรถ

พ.ศ. 2344
ฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดสระเกศ
ฟื้นฟูการเล่นสักวา

พ.ศ. 2345
ราชาภิเษกพระเจ้าเวียดนามยาลอง (องเชียงสือ)

พ.ศ. 2347
โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ชำระกฎหมาย จัดเป็นประมวล กฎหมายตราสามดวง ขึ้น

พ.ศ. 2349
ทรงอภิเษกให้ นักองค์จันทร์ เป็น สมเด็จพระอุทัยราชา ครองกรุงกัมพูชา

พ.ศ. 2350
เริ่มสร้างวัดสุทัศน์เทพวราราม

พ.ศ. 2352
ได้ริเริ่มให้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
เสด็จสวรรคต




 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒


                                                  

 

(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)

มีพระนามเดิมว่า ฉิม

พระราชประวัติ          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24
 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฏ
          1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
          2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา


พระราชกรณียกิจที่สําคัญ


          พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
          พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
          พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
          พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
          พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
          พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
          พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
          พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
          พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
          พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346

การทํานุบํารุงบ้านเมือง


          การปฎิสังขรณ์วัด โปรดให้แกะลายสลักที่บานประตู พระวิหารพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ สร้างพระประทานในพระอุโบสถวัดแจ้ง และพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชรายได้ของแผ่นดิน ได้จากการเก็บภาษีอากรทางด้านการค้า ที่ทําตามแบบเดิม คือให้พระคลังสินค้ามีอํานาจในการซื้อขายการปกครอง นั้นคงทรงไว้แบบเก่า แต่งตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้ากํากับราชการ กฎหมาย ทรงตราพระราชกําหนดสักเลข และพระราชกําหนดห้ามมิสูบและขายฝิ่นสถาปัตยกรรม ขยายเขตพระบรมมหาราชวังสร้างสวนขวา พระสมุทรเจดีย์ และสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ประเพณีพิธีกรรม ได้แก่พระราชกรณียกิจลงสรง พระกําหนดพิธีวิสาขบูชา พระราชพิธีอาพาธพินาศ และการตั้งโรงทานการใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ช้างเผือก 3 เชือกได้แก่ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ศาสนา ทํานุบํารุงพุทธศาสนา เช่น การปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การสังคายนาสวดมนต์ การสร้างพระไตรปิฎก การส่งสมณทูตไปประเทศลังกาวรรณคดีและกวี มีรัตนกวีคู่พระหฤทัย เช่น พระสุนทรโวหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) พระยาตรัง
บทพระราชนิพนธ์ในพระองค์ ได้แก่          1. บทละครในเรื่องรามเกียรติ์
          2. บทละครในเรื่องอิเหนา
          3. บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย
          4. กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
          5. บทกาพย์โขน ตอนนางลอย พรหมาสตร์ นาคบาศ และเอราวัณ
          6. กลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
การติดต่อกับพม่า


          พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระชนมายุได้ 43 พรรษา นาน 2 เดือน พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมทัพไปทรงปราบปรามพม่าได้
          พ.ศ. 2363 พม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยมีพระเจ้าจักกายแมง ต่อจากพระเจ้าปดุง ได้ข่าวว่า ไทยเกิดโรคระบาด จึงยกทัพมาตี ไทยได้จัดกองทัพไปป้องกันตามทางที่พม่าจะเดินทางเข้ามา เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ถลาง สงขลา พัทลุง และตาก พม่ารู้ข่าวก่อนจึงไม่กล้ายกทัพมา

การติดต่อกับญวน

          พ.ศ. 2353 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าเวียตนามยาลองกษัตริย์ญวน ได้แต่งตั้งให้ทูตเดินทางมาเคารพพระบรมศพ พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการเพื่อขอเมืองพุทธไธมาศกลับคืน จึงยอมให้เพื่อสมานพระราชไมตรี


การติดต่อกับกัมพูชา ( เขมร )


          พ.ศ. 2353 สมเด็จพระอุทัยราชา กษัตริย์เขมร ถูกรัชกาลที่ 1 บริภาษไปเมื่อคราวเข้าเฝ้า จึงผูกใจเจ็บไว้ ครั้นรัชการที่ 1 สวรรคต จึงหันไปพึ่งอํานาจญวนด้วยสมเด็จพระอุทัยราชากลัวว่าไทยจะยกทัพไปปราบปราม ญวนให้นักองโปโหคุมทหารมากํากับเขมร สมเด็จพระอุทัยราชาคิดเสียดายเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง จึงปรึกษากับญวนซึ่งมีนักองโปโหเป็นกองกําลัง นักองโปโหก็เสนอแนะให้ฟ้าทะละหะ ยกทัพไปไทยโดยทําทีว่าจะไปเก็บค้างคาวและยมศิลาตามประเพณี ถ้าเห็นว่าอ่อนแอก็ให้โจมตีเมืองพระตะบอง แต่ฝ่ายไทยไหวทัน จึงตีกองทัพเขมรแตกพ่ายไป
การติดต่อกับจีน ในรัชกาลที่ 2 โปรดให้ไปเจริญทางพระราชไมตรีถึง 2 ครั้งคือ          พ.ศ. 2353 โปรดให้ราชทูตอันเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าเกียเข้งกรุงปักกิ่ง เพื่อให้จีนทราบว่าไทยเปลี่ยนแผ่นดินใหม่
          พ.ศ. 2364 โปรดให้อัญเชิญพระราชสาส์น โดยมีพระยาสวัสดิสมุทร เป็นทูตไปแสดงความยินดีต่อพระเจ้าเตากวาง ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเกียเข้ง พร้อมคํานับพระศพด้วย
การติดต่อกับโปรตุเกส



         พ.ศ. 2361 ประเทศโปรตุเกสแต่งตั้งให้ มร. คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เป็นทูตถือสาส์นนําเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดให้เป็น หลวงอภัยวาณิช
การติดต่อกับสหรัฐอเมริกา

         พ.ศ. 2364 กัปตันแฮน เป็นพ่อค้าชาวอเมริกันคนแรกได้ถวายปืนคาบศิลา 500 กระบอก จึงโปรดให้เป็น หลวงภักดีราช
การติดต่อกับอังกฤษ


         พ.ศ. 2365 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษตั้งผู้สําเร็จราชการอินเดียคือ มาร์ควิส เฮสติงค์ ได้ส่งจอห์นครอว์เฟิด มาเจริญราชไมตรี ผลของการเจรจาไทยเห็นว่าอังกฤษเอาเปรียบทุกอย่างไทยเลย ไม่ติดต่อด้วย แต่ยังมีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ ยินยอมทําตามระเบียบของไทย และค้าขายเรื่อยมาจนได้โปรดให้เป็น หลวงอาวุธวิเศษ



เสด็จสวรรคต

         เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้วเจ้าอนุวงศ์หมดความเกรงกลัว เริ่มแข็งเมืองและเป็นกบฎขึ้นในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 คํ่า ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขณะนั้นทรงพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงเสวยราชย์สมบัติ 16 ปี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒          เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี






         
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓


                                                                   
                                                                             
                                      


     


(ประสูติพ.ศ.2330 ขึ้นครองราชย์พ.ศ.2367-พ.ศ.2394)

มีพระนามเดิมว่าพระองค์ชายทับ

พระราชประวัติ
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
          พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรงส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา
การทํานุบํารุงบ้านเมือง
การปกครอง เป็นตามแบบเดิมที่เคยมีมา ในรัชกาลที่ 2รายได้ของประเทศ มีการปรับปรุงภาษีอากรใหม่ ยกเลิกภาษีฝิ่นอากรค่านํ้า และอากรรักษาเกาะ ส่วนการค้าขาย ส่วนใหญ่จะค้าขายกับจีน
ศาสนา  เป็นยุคของการฟื้นฟูบูรณะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งธรรมยุติกนิกาย และมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในไทยอีกวัดที่ทรงสร้างและปฎิสังขรณ์ที่สําคัญมี วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม วัดอรุณ วัดกลางเมือง วัดนางนอง วัดพระพุทธบาท วัดมหาธาตุ วัดโมลีโลกยาราม วัดยานนาวา
วรรรคดีและกวี วงการกวีและวรรรคดีจะเฟื่องฟูในยุคต้นๆเท่านั้นบทพระราชนิพนธ์ คือ
          1. เสพาขุนช้างขุนแผน
          2. บทละครเรื่องสังข์ศิลปไชย
          3. เพลงยาวรัชกาลที่ 3
          4. โคลงปราบดาภิเษก
กวีที่สําคัญอีกท่านหนึ่งคือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตโนรส มีพระนิพนธ์ที่สําคัญคือ ลิลิตตะเลงพ่าย พระปฐมสมโพธิกถา สรรพสิทธิ์คําฉันท์ กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ศิลปกรรม ทางด้านสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของต่างประเทศ เช่น ศิลปการช่างของจีน ปฎิมากรรมที่สําคัญได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปประจํารัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2สร้างเมือง และป้อม สร้างเมืองใหม่ขึ้น คือ ได้แก่ พนัสนิคม ( เมืองพระรถ ) กบินทร์บุรี ประจันตคาม คําเขื่อนแก้ว ภูเวียงขุนคลองบองบาก คลองบางขุนเทียน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคม และการเกษตรป้อมที่สร้างเพิ่มเติม สร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ เมืองจันทบุรี เมืองสมุทรสงคราม เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก
การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
ติดต่อกับพม่า ในรัชกาลที่ 3 นี้ อังกฤษติดต่อกับไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ ในการยกทัพไปพม่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้พระยารัตนจักร คุมกองมอญไปล่วงหน้า และโปรดให้เจ้าพระยามหาโยธา ( ทอเรีย ) คุมกองทัพมอญออกไปทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์ พระยาชุมพรคุมกองเรือชุมพรไชยา ยกไปทางเรือเพื่อตีเมืองมะริด และเมืองทวาย พระยามหาอํามาตย์กับพระยาวิชิตณรงค์ขึ้นไปเกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ยกทัพออกทางด่านแม่ละเมา
การติดต่อกับญวน ในรัชกาลที่ 3 ญวนสนับสนุนให้เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อไทย เท่ากับแสดงตนเป็นอริกับไทย ไทยจึงคิดปราบปรามญวนให้หายกําเริบเสียบ้าง จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์ ) เป็นแม่ทัพบก ยกไปไล่ญวนในประเทศเขมร จนจดไซ่ง่อน และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ ตีหัวเมืองเขมรและญวนแถบชายทะเล ทําสงครามอยู่นานในที่สุดได้เลิกสงครามกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นักองค์อิน เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง และให้นักองค์ด้วงไปครองเมืองมงคลบุรี
ติดต่อกับลาว ลาวมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาตั้งแต่รัชกาลก่อนพอเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นรัชกาลที่ 3 ลาวก็มีท่าทีกระด้างกระเดื่อง สาเหตุมาจากเจ้าอนุวงศ์มาถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2368 และทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทน์ แต่รัชกาลที่ 3 ไม่โปรดให้
          พ.ศ. 2369 เกิดมีข่าวลือว่าอังกฤษจะทําสงครามกับไทย เจ้าอนุวงศ์จึงเข้ามากวาดต้อนผู้คนของไทยไป ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นแม่ทัพ แต่ไม่ทันได้สู้รบกัน เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนผู้คนไปจันทน์คุณหญิงโมภรรยาปลัด เมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์ จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทน์โดยวางกำลัง คอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และ เมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวร เป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่ง ให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับ กองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้ เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไป บรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทย ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้
          ในปี พ.ศ. 2371 พอเสร็จศึกทรงโปรดให้แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และแม่ทัพสําคัญที่ปราบพวกกบฎอีกสองท่านคือ พระยาราชสุภาวดี และเจ้าพระยาอภัยภูธร ได้ราบคาบ จนสามารถจังเจ้าอนุวงศ์กับครอบครัวขังกรงประจานที่ท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนตาย
การติดต่อกับอังกฤษ เมื่อเริ่มรัชกาล ไทยเคยช่วยอังกฤษรบกับพม่า แต่ไม่สําเร็จ จน พ.ศ. 2368 ผู้สําเร็จราชการอังกฤษประจําอินเดียได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทยให้ช่วยรบกับพม่า เมื่อรบชนะ อังกฤษไม่ได้ให้อะไรกับไทย ไทยจึงหันมาตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีกับอังกฤษ ไทยกับอังกฤษทําสัญญากัน เรียกว่า "สัญญาเบอร์นี่" ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัตยาบัน เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2369
การติดต่อกับอเมริกา ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 3 นี้เอง พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็คสัน ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เป็นทูตเข้ามาเพื่อทําสัญญาการค้า
เทคโนโลยีของไทยภายใต้อิทธิพลของชาวตะวันตก
          การพิมพ์ หมอบรัดเล่ย์ มิชชั่นนารีอเมริกา นํ้าแท่นพิมพ์เป็นภาษาไทย แท่นแรกจากสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2379  ตัวพิมพ์อักษรไทย ร้อนโทเจมส์โลว์ เป็นผู้ประดิษฐ์แบบอักษรไทยขึ้นสําเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2371 การแพทย์ พวกมิชชั่นนารีจําหน่ายยาแก่คนทั่วไป ดําเนินการครั้งแรกพักริมวัดเกาะตอนสําเพ็ง พ.ศ. 2379 เริ่มมีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ. 2379 การผ่าตัดตามวิธีศัลยกรรมแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2390 การใช้ยาสลบ โดยหมอเฮ้าส์ พวกมิชชั่นนารีอเมริกา เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่คนไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิชาดาราศาสตร์ เดินเรือ วิชาช่าง และต่อกลเรือไฟได้เป็นครั้งแรก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ศึกษาวิชาการต่อเรือกําปั่นใบแบบฝรั่งเศสได้อย่างดี ต่อลําแรกได้สําเร็จเมื่อ พ.ศ. 2378 และตัดแปลงเป็นเรือรบ
ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
          หมอเฮ้าส์ มิชชั่นนารี ผู้ที่ทําให้คนไทยรู้จักดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสและแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการศึกษา การศึกษาภาษาอังกฤษ มิชชั่นนารีอเมริกันชื่อ เจสซี่ คาสแวส์ ได้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขณะที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ขนบธรรมเนียมและประเพณี จากการที่มีพวกมิชชั่นนารีมาอยู่ในไทย ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เลิกประเพณีเข้าเฝ้าโดยไม่ใส่เสื้อ
เสด็จสวรรคต
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 คํ่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 เวลา 8 นาฬิกา สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา มีพระราชบุตร 22 พระองค์ พระราชบุตรี 29 พระองค์
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓
          เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน